วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

การลงทุนด้วยวิธี Technical Average



               Technical Average (TA) คืออะไร หลายๆ คนอาจสงสัยหรือไม่เคยได้ยิน ไม่แปลกหรอกครับเพราะเป็นวิธีที่ผมคิดขึ้นมาเอง
โดยพัฒนาต่อจากวิธี DCA (Dollar Cost Average) และ VA (Value Average) ซึ่งเป็นการสะสมหุ้นด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กันในทุกๆ เดือนและเป็นการลงทุนระยะยาว วิธีทั้ง DCA และ VA เหมาะกับนักลงทุนหรือมนุษย์เงินเดือนที่ไม่ค่อยมีเวลาในการเฝ้าการลงทุนเท่าไรนัก สำหรับวิธีทั้งสองสามารถหาได้จาก website ทั่วไปนะครับ โดยผมจะเอามาอธิบายให้ในบทความอื่นของผมในภายหลังครับ
               โดยวิธี DCA และ VA จะทำการลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่ากันทุกเดือน เช่น ถ้าคุณกำหนดให้แต่ละเดือนของคุณลงทุนด้วยเงิน 5,000 บาทในทุกๆ เดือน ซึ่ง DCA ที่นิยมกันจะทำการเลือกหุ้นที่จะซื้อโดยดูจากลักษณะของหุ้นคือ "เงินปันผล" หรือ "หุ้นเติบโต" เพื่อสะสมหุ้นในเวลานั้นๆ โดยไม่ต้องสนใจราคา
               มาลองดูความต่างของ TA กันครับ โดย TA จะเป็นการสะสมเงินเข้า Port หุ้นของเราทุกๆ เดือน เสมือนเงินเก็บ และจะเข้าซื้อหุ้นก็ต่อเมื่อเกิดสัญญาณทางเทคนิคอย่างใดอย่างหนึ่งที่เรากำหนด โดยเป็นการซื้อด้วยจำนวนเงินที่สะสมมา ณ เวลานั้นๆ เนื่องจากเป็นการนำเงินเข้า port ทุกเดือนดังนั้นจะมีช่วงเวลาที่เราไม่สามารถลงทุนได้ ผมเรียกว่าช่วงสะสม (Collective) และเมื่อเกิดสัญญาณเทคนิคที่ต้องการก็จะทำการซื้อทันที โดยใช้คำสั่งล่วงหน้า ความถี่ในการตรวจสอบขึ้นอยู่กับ Time frame (TF) ที่ใช้ครับ ผมแนะนำให้ใช้ TF Day โดยคุณสามารถตรวจสอบจังหวะเข้าซื้อได้หลังจากเลิกงานแล้วครับ มีวิธีการดังนี้ครับ


TA Strategies
0. กำหนดระยะเวลาที่ต้องการลงทุน ตั้งแต่ 2-5 ปีนะครับใครจะนานกว่านี้ก็ไม่ว่าครับ สำหรับเงินที่จะใช้ในแต่ละเดือนต้องเป็นเงินเก็บที่จะไม่นำออกมาใช้ตลอดระยะเวลาการลงทุนนะครับ
1. เลือกหุ้นที่ต้องการทำ TA โดยดูจากปันผล มีคนรู้จัก และคาดว่าธุรกิจจะสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างน้อย 5 ปี เป้นหลักครับ โดยสามารถเลือกลงทุนได้มากกว่า 1 หุ้นนะครับ โดยให้แบ่งสัดส่วนของเงินให้เหมาะสม
2. เลือกใช้สัญญาณ Technical มา 1 สัญญาณ ในที่นี้ผมเลือกใช้ Price cross EMA(10) ครับ หรือราคาข้ามเส้น EMA แล้วเข้าซื้อ
3. กรณีที่เมื่อซื้อแล้วเกิดหุ้นลงให้ถือไว้ครับ เพราะเป็นการสะสมรอให้เกิดสัญญาณรอบใหม่ค่อยเข้าซื้อ โดยระหว่างนี้ก็จะทำการสะสมเงินไปด้วย
4. หากซื้อแล้วหุ้นขึ้นและราคายังยืนเหนือเส้น EMA โดยไม่ตัดลงมาก็ไม่ต้องขายครับ หรือถ้าราคาตัดลงมาแล้วขาดทุนก็ไม่ขายเช่นกัน วิธีนี้จะขายเมื่อเขียวหรือได้กำไรเท่านั้น
5. เมื่อราคาตัดเส้น EMA ลงให้ขายออกก่อนแล้วเข้าสู่ช่วง Collective อีกครั้งเพื่อราสัญญาณซื้อครับ


มาดูตัวอย่าง ไม่ต้องสนใจชื่อหุ้นนะครับ เป็นแค่กราฟตัวอย่างเท่านั้นครับ
ผมเริ่มลงทุนทุกวันที่ 1 ของเดือน โดยฝากเดือนละ 5,000 บาท เริ่มต้นวันที่ 1 เดือนธันวาคม 2558 โดยใช้ time frame day

              ตามกราฟ จะเห็นว่าราคาหุ้นอยู่ที่ 66.75 ตามราคาปิดของวัน ซึ่งผมไม่สามารถซื้อหุ้นได้เนื่องจากเงินไม่พอครับ กรณีที่เราไม่ซื้อแบบ Odd lot จะต้องซื้ออย่างน้อย 100 หุ้นครับ ดังนั้นเดือนนี้ผมจะไม่ทำอะไรผมจะมี เงินสด=5,000 บาท, หุ้น=0 หุ้นครับ พอเดือนมกราคม 2559 ผมเพิ่มเงินลงทุนไปอีก 5,000 บาท

สำหรับเดือนนี้ผมมีเงินทั้งหมด 10,000 บาท ซึ่งสามารถซื้อหุ้นได้แล้วครับ แต่จะเห็นว่าราคา ณ วันที่ 4 มกราคม 2559 (1-3 วันหยุดปีใหม่ครับตลาดปิด) ราคายังอยู่ใต้เส้น EMA(10) ดังนั้นก็ยังไมลงทุนครับ โดยผมจะคอยดูราคาหลังตลาดปิดทุกวันนับจากนี้เพื่อหาจังหวะครับ

               จังหวะมาแล้วครับเย็นวันที่ 11 ที่ผมกลับมาดูดังนั้นผมจะตั้งซื้อ ATO ในวันถัดไป จำนวน 100 หุ้น ซึ่งทำให้ผมได้ราคาซื้อที่ 50.50 ดังนั้นผมจะมีจำนวนหุ้น = 100 หุ้น (มูลค่า ณ วันซื้อไม่คิดค่าคอมมิชชั่นกับ VAT = 5050) เหลือเงินสด = 4950
        


               หลังจากนั้นก็ถือไว้ครับจะเห็นว่าระหว่างถือมีบางช่วงที่ราคาลงไปกว่าราคาซื้อ แต่อย่างที่ผมบอกครับวิธีนี้ขายเมื่อเขียวหรือได้กำไรเท่านั้น ผมจะเพิ่มเงินในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 อีก 5,000 บาท ทำให้ตอนนี้ผมมีเงิน = 9950 และมีหุ้น 100 หุ้น (มูลค่า ณ วันที่ 1 ก.พ. 59 = 5,600 บาท)  เหมือนไม่เยอะนะแต่อย่าลืมว่าผมใช้เงินลงทุนน้อยนะครับ จากกราฟผมยังไม่ซื้อเพิ่มนะครับเพราะยังไม่อยู่ในเงื่อนไขคือราคายังไม่ตัดเส้น EMA(10) จะเห็นว่าหลายวันต่อมามีราคาตัดลงแต่ผมก็ยังไม่ขายเช่นกัน


                ผมตัดสินใจซื้อเพิ่มอีก 100 หุ้นที่ ATO เนื่องจากวันก่อนหน้าราคาลงมาตัดเส้น EMA แล้วกลับมายืนเหนือได้ โดยได้ราคาที่ 55.75 จำนวน 100 หุ้นทำให้ผมมีจำนวนหุ้นเท่ากับ 200 หุ้นและมีราคาเฉลี่ยที่ 53.125 (มูลค่า = 10,625) เงินสด=4375 ณ วันที่ 18 ก.พ. 59



                วันที่ 1 มีนาคม 2559 ผมนำเงินเพิ่มอีก 5,000 ตามที่กำหนดไว้ในแต่ละเดือนทำให้ตอนนี้ผมมีเงินสด = 9,375 บาทและในวันต่อมาผมตัดสินใจซื้อหุ้นเพิ่มที่ ATO อีก 100 หุ้นเนื่องจากราคาข้ามเส้น EMA แล้วกลับมายืนเหนือเส้นได้ ที่ราคา 59 บาท ทำให้ตอนนี้ผมมีหุ้น = 300 หุ้นที่ราคาเฉลี่ย 55 บาท (มูลค่า 16,500) หลังจากนั้นก็รอครับ สังเกตุเห็นมีการเปิด gap ที่ค่อนข้างแรงและราคาไม่วิ่งขึ้นไปทำให้ผมตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดที่ราคา ATO ของวันถัดมาที่ 64 บาท (มูลค่า= 19,200) ทำให้ผมมีเงินสดรวมทั้งหมด = 28,575 จะเห็นว่าผมฝากเงินทั้งหมด 4 ครั้งเป้นเงิน 20,000 บาท แต่เงินปัจจุบันมี 28,575 จึงหมายถึงผมได้กำไรด้วยวิธีนี้ =30% ใน 4 เดือน หลายคนคงมองว่าน้อยนะครับ แต่อย่าลืมว่าวิธีนี้เสี่ยงน้อยก็ได้ผลตอบแทนน้อยครับ สำหรับสัญญาณซื้อครั้งต่อไปยังไม่มีครับ ก็รอและสะสมเงินไปก่อนครับ โดยผมฝากเงินเพิ่มในวันที่ 1 เมษายน 2559 ทำให้มีเงินสด = 33,575 เพื่อรอโอกาสครั้งต่อไป
                เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับวิธีการลงทุนแบบ TA หวังว่าคงพอจะเข้าใจกันบ้างนะครับ โดยตัวอย่งที่ผมให้ดูยังไม่ใช่ของจริงนะครับเนื่องจากไม่ได้คิดค่าคอมมิขขั่นและ VAT ด้วย สำหรับวิธีนี้ผมจะทำ port จำลองขึ้นมาให้ดูด้วยครับ ระยะเวลาการลงทุน 20 ปี ฝากทุกเดือนๆ ละ 3,000 บาทเป็น port ที่ผมจะสร้างไว้ให้ลูกครับ หลายคนอาจบอกว่าทำไมลงทุนน้อย ผมจะบอกว่าผมใช้เงินที่ไม่เดือดร้อนในการลงทุนครับเงินเท่านี้ผมไม่เดือดร้อนผมก็ลงเท่านี้ครับไว้มีรายได้เพิ่มก็ค่อยเพิ่มจำนวนเงิน อีกอย่างเป็น port ที่ผมทำให้ดูดังนั้นไม่อยากใช้เงินเยอะด้วยครับ โดย port นี้ผมอาจจะเปิดให้ดูใน 3-5 ปีเท่านั้นนะครับหลังจากนั้นเมื่อจำนวนเงินเริ่มเยอะขึ้นผมจะขอไม่แสดงครับ ติดตาม port นี้ได้ทาง blog ผมนี่ละครับ
                 ลองนำวิธีการนี้ไปลองใช้ดูนะครับ ผมขอบอกว่าเหมาะกับมนุษย์เงินเดิอนแบบผมนี่ละครับ คิดว่าดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารก็พอครับ เสี่ยงน้อยได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม ผมว่าน่าจะเหมาะกับหลายๆ คนด้วยนะครับ

เน ขั้นเทพ

1 ความคิดเห็น:

Comments system

Disqus Shortname